การเตรียมตัวก่อนสอบ

การสอบเป็นกิจกรรมที่น้องๆ ม.ปลาย ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้องที่กำลังศึกษาอยู่ ม. 6 ที่ต้องเก็บตัวเงียบเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมให้มากในการนำไปสอบแข่งขัน เพื่อให้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่อไป หากน้องๆ มีทักษะในการทำข้อสอบมากพอ ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจและประสบความสำเร็จได้ ในการที่จะทำข้อสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจนั้น ต้องมีการวางแผนการศึกษาตั้งแต่เนิ่นๆ ควรให้เวลากับการศึกษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ซึ่งการสอบที่ผ่านมา น้องๆ แต่ละคนอาจจะมีเคล็ดลับการสอบที่แตกต่างกันแล้วแต่ว่าใครจะงัดอะไรออกมาสู้กัน (ด้วยความสุจริต) ซึ่งได้แก่ ทางไสยศาสตร์ การบนบานศาลกล่าว เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ หรือ การมีเคล็ดลับการเดาข้อสอบต่าง ๆ ซึ่งก็แล้วแต่ความสะดวกของน้องๆ แต่ละคน ซึ่งฉบับนี้ได้นำเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการสอบ Entrance มาฝากน้องๆ เพื่อให้การสอบเป็นไปอย่างราบรื่น


  1. การเตรียมความพร้อมก่อนวันสอบ น้องๆ ต้องให้ความสำคัญกับตารางสอบให้มากๆ เพราะตารางสอบจะบ่งบอกถึง วัน เวลา วิชาที่สอบ และสถานที่สอบ ให้กับน้องๆ ตลอดจนการสำรวจสถานที่สอบก่อนไปสอบจริงด้วย เพราะหากน้องๆ ดูไม่ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว นั่นหมายถึงว่าน้องได้ตัดโอกาสของตนเองด้วย ส่วนเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ เช่น ดินสอ 2B หรือมากกว่านั้น เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันว่าน้องเป็นคนสมัครและเป็นคนมาสอบด้วยตนเองให้ พร้อม (ไม่ควรมาหาเอาตอนจะไปสอบจะไม่ทันกาล)
  2. ความพร้อมของน้องๆ เอง โดยก่อนออกจากบ้านไปยังสถานที่สอบ น้องๆ ให้ความสำคัญกับการแต่งกายหรือยัง การแต่งกายต้องสุภาพเรียบร้อย (ชุดนักเรียน) ถูกต้องตามระเบียบการแต่งกายของนักเรียนระดับ ม.ปลายหรือยัง ถ้ายังสำรวจตัวเองก่อนที่คณะกรรมการผู้คุมสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบนะคะ แล้วอย่าลืมอุปกรณ์และเอกสารที่เตรียมไว้นะ จะได้ไม่เสียเวลาและไม่ทำให้น้องหงุดหงิดได้ค่ะ อย่าลืมว่าต้องไปทักทายเพื่อน ๆ ก่อนเข้าห้องสอบประมาณครึ่งชั่วโมงด้วยนะ เพื่อลดความวิตกกังวลและรู้สึกผ่อนคลาย จะได้รู้สึกดีและมั่นใจในการสอบ
  3. เมื่อเข้าห้องสอบนั่งนิ่งๆ ทำใจให้สบาย ฟังคำชี้แจงจากคณะกรรมการคุมสอบให้ละเอียด ไม่เข้าใจให้สอบถามทันที เขียนชื่อ - สกุล รหัส ในกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะถ้าลืม ต่อให้เก่งสักเท่าไร บวก ไสยศาสตร์ก็ช่วยอะไรน้องๆ ไม่ได้นะคับ
  4. รวบรวมสติให้มั่น อ่านคำชี้แจงให้ชัดเจน และให้เข้าใจ พร้อมทั้งสำรวจว่าข้อสอบที่ได้มีจำนวนข้อ และจำนวนหน้าตรงตามคำชี้แจงที่ข้อสอบได้ระบุไว้หรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรให้รีบแจ้งคณะกรรมการคุมสอบโดยเร็ว
  5. น้องต้องวางแผนการใช้เวลาในการสอบทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาในการทำข้อสอบข้อละกี่นาที จึงจะเสร็จ น้องๆ ควรควบคุมและใช้เวลาในการ ทำข้อสอบตามแผนที่วางไว้ เพราะเมื่อพบข้อที่ยาก อาจจะทำให้ทั้งเวลาและความรู้สึกของน้องเสียไปได้
  6. ให้น้องๆ รีบจดสาระสำคัญ เช่น สูตร หรือข้อความที่ต้องใข้ในวิชานั้นๆ ลงในกระดาษคำถามก่อนที่ความตื่นเต้นจะทำให้ลืมไปเสียก่อน (แล้วอย่าเผลอไปจดใส่กระดาษอื่นๆ ล่ะ เดี๋ยวเจอข้อหาทุจริตได้ จะหาว่าไม่เตือน)
  7. ให้น้องๆ เลือกทำข้อสอบในส่วนของข้อที่ง่ายก่อน แล้วค่อยทำข้อสอบในส่วนที่ยากต่อไป เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ในสถานการณ์ที่พบข้อที่ยากให้ทำเครื่องหมายและข้ามไปทำข้อถัดไปก่อนแล้วจึง ย้อนกลับมาทำใหม่ ให้น้องๆ ระวังข้อคำถามหรือต้องเลือกที่มีคำที่เป็นปฏิเสธ หรือปฏิเสธซ้อนปฏิเสธให้ใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาความหมายที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เสียคะแนนได้
  8. น้องควรใช้ความรู้ในการทำข้อสอบ และไม่ต้องสนใจกับรูปแบบของข้อที่ตอบให้มากนัก เช่น ตอบข้อ ก แล้ว ข้อถัดไปไม่ควรจะเป็นข้อ ก อีก เป็นต้น ให้น้องคำนึงถึงตัวเนื้อหาที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องดีกว่า เพราะถ้าน้องยึดติดกับตัวรูปแบบของการตอบแล้ว อาจทำให้พลาดจากคะแนนที่ต้องการได้
  9. การตอบปกติแล้วคำตอบที่คิดไว้เป็นครั้งแรกมักจะเป็นคำตอบที่ถูก แต่ถ้าหากจะเปลี่ยนคำตอบ ควรเปลี่ยนเมื่อแน่ใจจริง ๆ ว่าที่ตอบมาแล้วตอบผิด แต่หากไม่แน่ใจให้น้องคงคำตอบเดิมไว้นะคะ ความรู้ไม่เข้าใครออกใคร ความคิดของน้องครั้งแรกจะเป็นจะเป็นตัวช่วยเพิ่มคะแนนให้น้อง ๆ ได้คะ ถ้าเวลาในการทำข้อสอบเหลือพอที่จะทบทวนให้น้องย้อนกลับไปทบทวนเฉพาะข้อที่ ยากและไม่เข้าใจ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง และถ้าข้อสอบที่มีตัวเลือกเหลือให้ต้องเดาต้องเดาอย่างมีหลักการของความถูก ต้องนะะ เพราะไม่งั้นคะแนนอาจติดลบได้ค่ะ แต่บางคนมีเคล็ดลับการเดาที่ดี คือ การมีพื้นฐาน ความรู้และประสบการณ์ ก็อาจทำแต้มขึ้นมาได้
  10. แนวโน้มเนื้อหาในการสอบ Entrance และคะแนนของข้อสอบแต่ละวิชา จะมีน้ำหนักที่ต่างกันออกไป ค่าของคะแนนจะขึ้นอยู่กับความยากง่า ยของเนื้อหาที่ออกเป็นส่วนใหญ่ ข้อสอบที่นิยมนำมาทดสอบน้อง ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ข้อสอบแบบ ปรนัย และ ข้อสอบแบบอัตนัย ซึ่งน้อง ๆ บางคนอาจจะสับสนกับ คำว่า "ปรนัย" และ "อัตนัย" อยู่บ้าง "ปรนัย" คือ ข้อสอบที่มีคำถาม พร้อมตัวเลือกให้เลือกตอบ จำนวน 4 ตัวเลือก (ระดับมัธยมศึกษา) และ "อัตนัย" คือ ข้อสอบที่มีคำถาม เพียงอย่างเดียว แล้วให้น้องหาคำตอบจากการแสดงวิธีทำ เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปเนื้อหาของข้อสอบที่ใช้ จะวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ ของผู้เรียนมากกว่า โดยใช้หลักการของนักจิตวิทยาการศึกษา ชื่อว่า Benjamin S. Bloom (น้อง ๆ คงจะคุ้นเคยกับชื่อนี้มาบ้างแล้ว) ซึ่ง Bloom เองได้กำหนด พฤติกรรมการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
    • ความรู้ ความจำ หมายถึง การวัดความสามารถในการระลึกได้ถึงประสบการณ์ที่เคยศึกษาความจำอาจเป็นการถามความเกี่ยวกับศัพท์ และนิยามกฎเกณฑ์ วิธีการ เป็นต้นโดยคำถามมั กจะใช้ คำว่า อะไร ที่ไหน อย่างไร
    • ความเข้าใจ หมายถึง การวัดความสามารถในการแปลความ ตีความ และขยายความ
    • การนำไปใช้ หมายถึง การนำหลักวิชาไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่
    • การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะส่วนต่าง ๆของเหตุการณ์หรือเรื่องราวว่าเป็นอย่างไร การวิเคราะห์ถึงความสำคัญ ความสัมพันธ์หรือหลักการเป็นต้น
    • การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมสิ่งที่ศึกษาเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ หรือรูปแบบใหม่ อาจเป็นการสังเคราะห์ข้อความ การวางแผนงานล่วงหน้าหรือความสัมพันธ์ เป็นต้น
    • การประเมินค่า หมายถึงความสามารถในการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ศึกษามาทั้งหมดว่าตัดสินได้ว่าอย่างไร โดยข้อสอบที่ นำมาทดสอบน้องในการสอบ Entrance แต่ละปีนั้น ก็มักจะนำพฤติกรรมการเรียนรู้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาเป็นตัวทดสอบความรู้ของน้องๆ เอง โดยที่น้องต้องรู้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ทางผู้ออกข้อสอบนำมาใช้นั้น เป็นแนวใด และมีลักษณะเช่นไรแล้ว จะทำให้น้อง ๆ มีแนวทางใน การเตรียมตัวอ่านหนังสือและเตรียมตัวสอบ Entrance ต่อไป
  11. น้องๆ อย่าลืมตรวจสอบกระดาษคำตอบว่าได้ตอบทุกข้อคำถามและเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้นก่อนส่งให้กรรมการคุมสอบด้วยนะคับ
  12. หลังสอบเสร็จแล้วให้น้อง ๆ กลับไปทบทวนในข้อที่ยากหรือข้อที่ไม่แน่ใจทันที เพื่อเป็นการเรียนรู้จากข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนอีกครั้ง สำหรับในการสอบครั้งต่อไป

แหล่งที่มา: (ผศ.ดร.วิวัฒน์ คล่องพานิช)